บล็อกนี้ขอเสนอสูตรเงินออมอย่างง่าย แต่ใช้ได้ผลจริงครับ หลายๆ คนคงจะยังจำกันได้ว่า เมื่อก่อนตอนเด็กๆ พ่อแม่สอนว่า ให้รู้จักประหยัดอดออม เงินเหลือเท่าไหร่ก็ให้หยอดใส่กระปุกเก็บไว้
รายรับ - รายจ่าย = เงินออม
สูตรนี้ก็ตรงไปตรงมาใช่ไหมครับ? แต่ว่าสูตรนี้น่าจะเหมาะสำหรับคนที่มีความพอเพียงอย่างมาก มีรายจ่ายน้อยจริงๆ แต่จะไม่ค่อยเหมาะสำหรับคนส่วนใหญ่ (รวมไปถึงผมด้วย) สักเท่าไหร่ ซึ่งเราจะคิดกันว่าเราสามารถจ่ายเท่าไหร่ก็ได้ แค่ไม่ให้รายจ่ายมากกว่ารายรับแค่นั้น ทำให้ทุกๆ ช่วงสิ้นเดือนเราจะไม่ค่อยมีเงินเหลือกันสักเท่าไหร่ เป็นกันไหมครับ? ดังที่ @lecuppiecake เคยกล่าวไว้ว่า "สิ้นเดือนเมื่อไหร่ แม้แต่แกลบยังแพง" ตัวผมเองไม่เหมาะกับสูตรนี้อย่างแรง 🙁
แล้วสูตรไหนเหมาะ? ก็แค่ย้ายข้างสมการ จะได้อีกสูตรดังนี้
รายรับ - เงินออม = รายจ่าย
ดูแล้วผลลัพธ์เท่ากันใช่ไหมครับ? ถ้าตอบในเชิงคณิตศาสตร์ก็ใช่ครับ แต่ว่าในชีวิตจริงคำตอบคงต่างออกไป สมการข้างต้นนี้จะมีความหมายว่า พอเราได้รายรับ (เงินเดือน หรืออะไรก็ตาม) มาเมื่อไหร่ ให้หักเก็บไว้เป็นเงินออมทันที ประมาณ 10-20% ของรายรับ (แล้วแต่คนนะครับ เลขนี้ไม่ตายตัว) การทำเช่นนี้ให้ผลดีตามมาก็คือ
- เราสามารถคิดได้ว่า มีเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น (คิดเหมือนตอนที่เราใช้สูตรแรก) โดยไม่ต้องกังวลว่าเรามีเงินออมหรือเปล่า (นั่นก็เพราะ เราได้หักส่วนของเงินออมออกไปแล้ว)
- เงินออมของเราจะเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เราสามารถนำเงินจำนวนนี้ไปทำงานแทนเราได้ เช่น ฝากธนาคารเอาดอกเบี้ย หรือ ลงทุน
- ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก โดยที่เราไม่รู้ตัว
จริงๆ แล้วยังมีข้อดีอีกมากมายครับ สำหรับการใช้สูตรที่ 2 นี้
เราสามารถเริ่มต้นการออมเมื่อไหร่ก็ได้ครับ แค่ "ออมก่อน มีสิทธิรวยกว่า" เท่านั้นเอง 😛
ใช้วิธีนี้มานานละ เข้ามายืนยันผลครับ
แต่ตอนนี้เพิ่ง buffer เข้าไปด้วย ทำให้ยืดหยุ่นขึ้น
รายรับ - เงินออม - รายจ่าย = buffer
เงินออกก็เก็บเข้าบัญชีเงินเก็บไปตั้งแต่ได้รายรับ (ตั้งเป้าหมายว่าบัญชีนี้จะไม่ถอน ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ)
รายจ่ายก็เก็บเข้าบัญชีใช้จ่ายต่อเดือน (บัญชี ATM)
ส่วน buffer ก็เก็บไว้อย่างนั้น เผื่ออยากเอาไปทำอะไรพิเศษ
เพิ่ม buffer ไปเจ๋งว่ะ ลองมั่งๆ ขอบคุณครับ