เปิดหูเปิดตากับงาน BugDay Bangkok 2011

งาน BugDay Bangkok 2011 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว สำหรับงานดีๆ แบบนี้ (เชิญชมบรรยากาศครั้งแรก) ครั้งนี้ผมเห็นว่าคนมาเยอะกว่าเดิมด้วย เจ้าของงานคงปลื้มไม่ใช่น้อย ฮะๆ ขอให้จัดต่อไปเรื่อยๆ นะครับไม่ว่าจะเป็นปีละครั้งหรือสองปีครั้งก็ดี งานดีๆ แบบนี้ไม่จัดก็น่าเสียดายเนอะ ครั้งนี้ก็มีความพิเศษอย่างหนึ่งที่ว่าเค้าจัด Workshop สำหรับ Tester ด้วยอีก 1 วันเต็มๆ อีกด้วย ใครที่ทำงานทางด้านนี้ถ้าไม่ไปก็คงพลาดเทคนิคดีๆ ไปเยอะเหมือนกัน
วันแรกของงานนี้ผมได้เข้าฟังเรื่อง (เขียนเท่าที่พอนึกออกนะครับ ถ้าอยากรู้เนื้อหาเต็มๆ เยอะๆ ก็ไปอ่านสไลค์ของแต่ละคนกันแทน)

เรื่องแรก How to Set Up Infrastructure Services for Web Application Development and Tools โดย @AuntiSpam [PPT]

ซึ่งเป็นการบอกเทคนิคง่ายๆ ในการสร้าง Environment สำหรับการพัฒนาและการทดสอบระบบซึ่งไม่ต้องเปลี่ยน URL วิธีง่ายๆ ทำได้โดยการเพิ่ม Sub-domain เข้าไป เช่น เราจะพัฒนาเว็บ abc.com เราก็สร้าง dev.abd.com ไว้เป็น private สำหรับพัฒนาอย่างเดียว ซึ่งวิธีนี้ยังมีปัญหาหลายอย่าง อย่างหนึ่งที่เห็นชัดคือ ถ้าเรามีโดเมนที่ต่างกัน โค้ดเราในบางส่วนก็ต่างกันด้วย วิธีนี้จึงไม่ค่อยเหมาะแก่การพัฒนาเว็บที่มีจำนวนโปรแกรมเมอร์ที่ทำงานด้วยกันหลายร้อยคน และมีหลายร้อยเว็บในเซิฟเวอร์เดียวกัน วิธีที่แก้ที่ดีและตอบโจทย์ได้ทุกอย่างคือการสร้าง Proxy ขึ้นมาจัดการหรือแบ่ง Environment นั่นเอง ทำให้เราไม่ต้องมานั่งกังวลมากนักเกี่ยวกับเรื่อง Environment เพราะว่าเราได้พัฒนาและทดสอบการทำงานใน Environment ที่คล้ายกับ Production มากที่สุดแล้ว

ต่อมาก็แนะนำ Tools ต่างๆ ที่เอาไว้จัดการดูแลพวก Infrastructure services ครับ ซึ่งเยอะมาก! และน่าสนใจทุกตัว ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า คนควบคุมดูและระบบทั้งหมดจะต้องมาทำอะไรแบบนี้ ถึงแม้ผมไม่คิดจะมาทำงานทางด้านนี้ แต่ก็ถือว่าเป็นความรู้ที่ดีเลยทีเดียวครับสำหรับผมครับ

แล้วก็ผมประทับในกับแนวคิดของ TARAD.com อย่างหนึ่งมากคือ "เรารู้คนเดียว เราเก่งคนเดียวสุดท้ายเราก็ได้คนเดียวแต่ว่าถ้าเราแบ่งปัน คนอื่นก็รู้ เราก็จะเก่งไปด้วยกันพัฒนาไปพร้อมกัน สุดท้ายแล้วประเทศชาติก็เจริญ" ผมเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนแนวคิดนี้ครับ 🙂

เรื่องที่ 2 เวชศาสตร์ป้องกันบั๊กและหนี้ทางเทคนิค โดย @roofimon

บั๊กนั่นคือสิ่งที่โปรแกรมเมอร์รู้กันอยู่แล้ว เจอกันแทบทุกวัน ส่วนหนี้ทางเทคนิค หลายคนอาจจะไม่มีโอกาสได้เจอ หนี้ทางเทคนิคถ้าเกิดขึ้นแล้วจะเป็นสิ่งที่แก้ได้ยากหรือไม่สามารถแก้ได้ ณ เวลาปัจจุบัน (ผมยังคงหวังว่าในอนาคตคงจะมีวิธีใหม่ๆ เกิดขึ้น) เป็นสิ่งที่เรายอมให้ผ่านไป และนานวันเข้า ก็สะสมเข้าไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง การบรรยายก็จะแนะนำวิธีปฏิบัตที่ดีและตัวอย่างในการปฏิบัติ และกล่าวถึงการทำ TDD สามารถช่วยป้องกันทั้งบั๊กและหนี้ทางเทคนิคให้เกิดขึ้นน้อยลงได้ หรือถ้าเกิดขึ้นเราก็สามารถเข้าไปแก้ได้อย่างมั่นใจว่าจะไม่กระทบกับระบบหลัก

เรื่องที่ 3 The Mosted Wanted Tester in Agile Project โดย @nattyait [PPT]

เนื้อหาจะผสมผสานไประหว่าง Agile software development และ บทบาทของ Tester ในนั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า Tester นั้นจะอยู่ทุกหนทุกแห่งใน Process จะอยู่ตั้งแต่เริ่มต้นคุยกับลูกค้าจนถึงส่งมอบงาน เนื้อหาค่อนข้างเยอะ ผมคิดว่าผู้ฟังน่าจะรู้จักการทำงานในแบบ Agile ไปด้วยเลย รูปเค้กรูปข้างล่างนี้แสดงให้เห็นภาพชัดเจนเลยทีเดียว

ถ้าใครไม่เข้าใจ ลองเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ Agile กับ Multi-disciplinary เข้ากันอย่างกับเค้กกับกาแฟ ผู้พูดยังกล่าวอีกว่าทางบริษัทจะเริ่มใช้ BDD หรือพูดง่ายๆ ก็คือเป็นเทคนิคการเขียนชุดทดสอบให้เป็นภาษาแบบ Non-technical เพื่อให้สื่อสารกับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เข้ามาในการทำงาน ไว้ผมจะเชิญมาพูดที่ AIT นะ 🙂

ช่วงสุดท้ายของวันจะเป็นการพูดคุยระหว่าง Developers & Testers ซึ่งแต่ละคนก็เอามุมมองของตัวเองมาแบ่งปันกัน ผู้ฟังได้ความรู้ไปเต็มๆ ส่วนผมมีอย่างหนึ่งที่คิดว่าการร่วมวงแบบนี้ขนาดไปคือเราขาด Developer ที่ทำ Waterfall แบบจริงๆ จังๆ ในที่นี้มีแต่ Developers รุ่นใหม่ที่เปิดรับ Agile เข้ามาในชีวิต ทำให้เป็นมิตรกับพวก Testers มากขึ้น จริงๆ แล้วผมก็อยากเห็นมุมมองของ Developers ในแบบอื่นด้วย 🙂

สุดท้ายก็ขอขอบคุณทีมงานผู้จัดงานและทาง ม.ศรีปทุมมากครับ จัดแบบนี้ไปเรื่อยๆ นะครับ -/\-

Author: zkan

Soon to be a newbie data scientist. I ♥ machine learning, computer vision, robotics, image processing, data visualization, and data analytics.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *