มีโอกาสไปงาน Barcamp Bangkok: OpenData มาเมื่อวันที่ 5 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งวันนี้เป็นวัน International Open Data Day ด้วยนะ ที่เมืองไทยเราจัดมาเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ครั้งนี้มาแบบพิเศษหน่อยคือจัดร่วมกับ Barcamp Bangkok โดยตอนเช้าจะเป็นช่วงเสวนา "การเปิดเผยข้อมูล: พลังขับเคลื่อนรัฐบาลโปร่งใส" มีคอนเซ็ปหล่อๆ ว่า Data for All แปลเป็นไทยงามๆ คือ "เปิดข้อมูลรัฐสู่สาธารณะเพื่อทุกคน"
ได้เจอกิพจังตัวจริงเสียงจริงด้วย!
ไม่รู้จัก? เชิญชมผลงาน <3
เค้ามาเป็นพิธีกรให้งานนี้แหละ คุ้มแล้ว กลับบ้านได้ล่ะ ยัง! อยู่งานต่อก่อน
ช่วงเสวนาช่วงแรกก็ได้อะไรเยอะเหมือนกัน ได้เห็นความคืบหน้าที่รัฐทำให้ประชาชน อาจจะดูเงียบๆ ไปหน่อย แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลเค้าสนับสนุนเรื่อง Open Data กันอย่างเอาจริงเอาจังมาก
ช่วงนี้เป็นก้าวแรกของ Open Data ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีที่ๆ ให้ประชาชนได้เข้ามาดูและโหลดไปได้ ณ ตอนนี้มีข้อมูลอยู่ที่ Data.go.th เกือบๆ 500 ชุดข้อมูล และจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต
ก้าวต่อไปนอกจากจะเปิดเผยข้อมูลออกมามากขึ้นแล้ว ก็คือการสร้างความร่วมมือในการลงมือนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ นำออกมาวิเคราะห์ นำออกมาไปช่วยกันคิดโจทย์ และตอบโจทย์ต่างๆ ให้กับสังคม
การทำ Open Data ทำให้เกิดความโปร่งใส และสามารถลดคอร์รัปชั่นได้จริง ถ้าเราอยากเห็นประเทศชาติเราพัฒนา มาช่วยกันนะครับ 🙂
มีพูดถึง ภาษีไปไหน? เป็น visualization ที่เปิดให้ประชาชนได้เข้าไปดู ทำออกมาได้ดีเลยทีเดียว จะมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ จนสามารถดูได้ว่าเงินภาษีของเรานั้นไปอยู่ที่บริษัทไหนเป็นบริษัทสุดท้าย มีแผนจะพัฒนาให้ใช้ได้บน mobile platform แล้วก็ประชาชนสามารถส่งรายงานการตรวจสอบโครงการต่างๆ กลับเข้ามายังระบบได้
กรมบัญชีกลางเค้าประกาศว่าเค้าทำ Open Data ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สุดยอดมากครับ กราบ กราบ กราบ แน่นอนว่าเค้าอยากให้คนนำเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อ
จบช่วงเช้าแบบคร่าวๆ ช่วงบ่ายเป็นช่วงของบาร์แคมป์ล่ะ ยังเป็นแนว Open Data อยู่ ตารางคนที่มาเสนอหัวข้อก็ตามนี้
ขอมาเล่าหัวข้อที่ได้มีโอกาสได้เข้าไปฟังตามนี้นะครับ แน่นอนว่าเป็นฉบับย่อ ยาวไปไม่อ่าน ยาวไปไม่เขียน 😛
Air Quality Data in Chiang Mai
โดย Rob
ประมาณว่าเค้าอยากให้ชาวเชียงใหม่ได้รับรู้ถึงคุณภาพของอากาศในเมืองโดยเฉพาะช่วงเดือนมีนา คุณภาพจะต่ำกว่าเดือนอื่นๆ ทั้งที่เป็นเพราะสภาพภูมิประเทศของเชียงใหม่เป็นแอ่ง อากาศเลยถ่ายเทยาก ทีนี้ข้อมูลจาก Pollution Control Department ค่อนข้างเก่า แล้วก็ไม่มี API สำหรับดึงข้อมูลง่ายๆ เค้าก็เลยทำ API ออกมา แล้วใช้วิธี Crowdsourcing data เพื่อให้คนได้มีส่วนร่วมในการสร้างฐานข้อมูล เว็บที่เค้าทำคือ Can You See The Mountain: Doi Suthep น่าสนใจ คือให้เราได้บอกว่าตำแหน่งที่เราอยู่ยังมองเห็นดอยสุเทพอยู่หรือเปล่า ถ้าไม่เห็นก็แสดงว่าคุณภาพของอากาศตอนนั้นไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ลองไปดูกันเนอะ Rob เค้าเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ไว้ด้วยลองเข้าไปอ่านกันครับถ้าสนใจที่ rburns.paiges.net
Internet of Things: can all open data
โดย อ.อาท
เรื่อง Internet of Things เป็นเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจอยู่ตอนนี้ และมีอนาคตไกลมาก พวกอุปกรณ์ต่างๆ จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ทีนี้แน่นอนว่าการติดต่อสื่อการมันก็จะต้องมีการส่งข้อมูลหากัน ตัวข้อมูลเหล่านี้แหละ มันจะโตขึ้นเรื่อยๆ และสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ในสังคม ในอนาคต การทำ Open Data กับข้อมูลพวกนี้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
อ.อาทชี้เป้าเว็บมา 2 เว็บ
- ThingSpeak - เป็น open data platform ของ IoTs
- Thingful - เป็น search engine สำหรับ IoTs ของ things ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกัน
แจ่มมากครับ
การประมวลผลภาษาด้วย Ruby
โดย พี่วีร์
พี่เค้าบอกว่า len("A")
กับ len("ก")
ใน Python 2.7 ได้ผลต่างกัน เพิ่งรู้..
Python 2.7.10 (default, Oct 23 2015, 18:05:06) [GCC 4.2.1 Compatible Apple LLVM 7.0.0 (clang-700.0.59.5)] on darwin Type "help", "copyright", "credits" or "license" for more information. >>> len("A") 1 >>> len("ก") 3
จริงแฮะ แต่ว่า Python 3 แก้แล้วนะ พี่เค้าว่างั้น
ส่วนที่ใช้ Ruby เพราะว่าเป็นภาษาที่เขียนง่าย แล้วก็ไม่มีปัญหาเรื่องการตัดคำเลย ทั้งอังกฤษ ไทย รวมไปถึงจีน ใครสนใจว่าเขียนอย่างไร เชิญที่ ASEAN word tokenizer written in Ruby ของพี่เค้าครับ
ใช้ Data พยากรณ์การปฏิxติ (โดยไม่รู้ตัว)
โดย Mishari
เนื่องจากเค้าได้ไปเรียนวิชา Democratic Development ของ Coursera เลยลองมาเก็บข้อมูลของกลุ่มคนที่ออกมาชุมนุมแล้วนำมาวิเคราะห์ดู ข้อมูลที่นำมาก็ เช่น ระดับการศึกษา หรือรายได้ มาสร้างกราฟ แล้วก็จะพอเห็นได้ว่ากลุ่มแต่ละกลุ่มมากจากสังคมที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งค่อนข้างขัดกับประชาธิปไตยที่จะมีส่วน overlap กันอยู่ ใครสนใจรายละเอียดไปอ่านต่อที่ The inevitable demise of Thai democracy นะครับ Mishari เค้าเขียนไว้
Social Media Big Data in Thailand
โดย คุณกล้า
นอกจาก core values 5 อย่างที่เราได้จากข้อมูลที่อยู่บน Social Media
- Brand Communication
- Product Research
- Competitor Analysis
- Customer Support
- Crisis Management
ยังมีด้านอื่นๆ อีกที่เราสามารถดึงออกมาจาก social media ได้ เช่นการดึงข้อมูลมาดูเทรนด์ในแต่ละช่วงเวลา ดูพฤติกรรมของผู้ใช้ หรือว่าวิเคราะห์คำต่างๆ ในช่วงเวลาที่ต่างๆ กัน ทำให้ข้อมูลที่ได้ออกมามีความหมายมากขึ้น พอมองเห็นว่าเกิดอะไรขึ้น พอเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ว่าเกิดอะไร หรือจะเกิดอะไร
Data Virtualization: How to grow & Use your Data
โดย คุณ Withaya
โดยปกติแล้วเวลาที่เราจะดึงข้อมูลจากหลายๆ ที่มาร่วมกัน เราก็จะดึงมารวมไว้ที่ data warehouse แล้วก็ใช้ tool ต่างๆ ดู หรือวิเคราะห์ข้อมูล แต่ทีนี้การทำแบบนี้ค่อนข้างยาก เพราะการจะดึงข้อมูลมารวมไว้ที่เดียวนั้นจะต้องการกระบวนการคัดกรองข้อมูล หรือว่าปรับเปลี่ยนข้อมูลมาก่อน ทีนี้เลยเกิดคำว่า Data Virtualization ขึ้นมา เป็นตัวกลาง เสมือนเป็นตัวบอกว่าข้อมูลอะไรอยู่ที่ไหน ฟังๆ แล้วคล้ายๆ กับ Federated database system ดูแล้วเหมือนกับว่ามีแต่ระดับ enterprise ที่ใช้ น่าสนใจดี
Bus Tracking in Vientiane case study from JICA
โดย @jeremyfanclub
เค้าได้ไปทำระบบ bus tracking ที่ลาวมา สามารถดูว่ารถเมล์คันไหนอยู่ที่ไหนแล้ว ระบบชื่อ VCSBE ครับ ญี่ปุ่นมาลงทุนสนับสนุนให้กับโปรเจคนี้ ใครที่หลงเข้ามาอ่านบทความนี้แล้วทำเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้อยู่ก็อย่าให้น้อยหน้าเพื่อนบ้านเรานะครับ
จบวัน.. ขนมมีแจกตั้งแต่เที่ยง ตอนเย็นเหลือด้วย! อร่อยครับ ชอบๆ
อ้อ ตอนท้ายช่วงปิดงาน ทางทีมงาน Barcamp Bangkok เค้าบอกว่าจะจัดอีกในปีนี้แน่นอนครับ คอยติดตามกันนะ ไปกันเยอะๆ สนุกดี 😀