เกี่ยวกับงาน Bangkok GTUG BootCamp

มีโอกาส (อีกแล้ว) ได้ไปร่วมฟังบรรยายที่งาน Bangkok GTUG BootCamp งานดีๆ แบบนี้เลยเอาประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟัง ใครที่ไปเข้าร่วมงานก็จะได้เสื้อฟรีมา 1 ตัวตามธรรมเนียม 😀

Google Technology User Group หรือ GTUG มีจุดประสงค์หลักๆ คือให้ผู้ใช้หรือนักพัฒนาที่สนใจเทคโนโลยีของกูเกิ้ลได้มาพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กัน ก็ตรงๆ ตามชื่อครับ งานนี้จัดที่ ตึก 17 อาคารนานาชาติ (International Building) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ณ วันที่ 15 ม.ค. 2554 ครับ


เปิดรับลงทะเบียนไว้ 220 คน แต่ผมคิดว่าเค้าน่าจะเปิดรับลงทะเบียนหน้างานด้วย ฉะนั้นถ้ามีงานหน้าแล้วลงทะเบียนไม่ทัน ก็เดินดุ่ยๆ เข้ามาเลยครับ น้องๆ เค้าใจดีให้ลงทะเบียนอยู่แล้ว ที่นั่งก็ยังเหลืออยู่เยอะเหมือนกัน 🙂

งานนี้มีวิทยากรมาเป็นจำนวน 6 ท่านด้วยกัน คนแรกมาแนะนำเกี่ยวกับ GTUG ว่าคืออะไร ทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง และเราสามารถเข้าร่วมได้อย่างไร

คนที่ 2 คือคุณ @dominixz มาพูดเรื่อง Chrome extension และ developer tools คนนี้มาสอนเขียน extension กันสดๆ เลย เนื้อหาจะเน้นความสำคัญของไฟล์ manifest.json และวิธีไปศึกษา source code ของ extension ชาวบ้าน และปิดท้ายด้วยการแนะนำการใช้ Chrome developer tools

คนที่ 3 คือคุณ @nuuneoi นั่นเอง มาพูดเรื่อง Android Ecosystem และ AdMob ซึ่งเริ่มต้นจะร่ายประวัติของ Android จากเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน และแนะนำระบบนิเวศน์ กล่าวถึงข้อดีและข้อเสียของมัน การพัฒนาโปรแกรมบน Android อีกทั้งยังได้ฝากข้อคิดและคำแนะนำถึงนักพัฒนารุ่นใหม่อีกด้วย ช่วงหลังจะกล่าวถึงโมเดลการหารายได้จากโปรแกรมที่พัฒนา และปิดท้ายด้วย AdMob ซึ่งเป็นการหารายได้จากการโฆษณานั่นเอง

คุณ @TonAwe จากฝ่ายการตลาดกูเกิ้ลประจำประเทศไทย ก็มาร่วมแจม ตอบคำถามต่างๆ ก่อนไปพักกลางวัน กับข้าวอร่อยดี มาร่วมงานก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายอีก -/\- ขอบคุณมากครับ จัดอีกบ่อยๆ นะครับ 😛

คนแรกของช่วงบ่ายคือคุณ @nadam9 มาจาก Stockholm GTUG มาพูดเรื่อง Android 2.3 Gingerbread เริ่มต้นมาก็ปล่อยฮาไปว่า "Google Nexus S is available in USA, UK and MBK." แต่เหมือนคนส่วนใหญ่จะฟังไม่ทัน ฮะๆ ส่วนที่น่าสนใจที่สุดในรุ่น 2.3 นี้ก็เห็นว่าน่าจะเป็น Near Field Communication (NFC) นั่นเอง การทำงานก็จะคล้ายๆ กับ RFID แต่ระยะส่งสัญญาณสั้นกว่า ทีนี้ประโยชน์ของมันก็คือ เราสามารถเอามือถือเราไปแตะสิ่งของสักอย่าง แล้วก็มีข้อมูลของสิ่งของนั้นขึ้นมาอยู่บนหน้าจอมือถือเรา

ต่อไปคุณ Andrea Gagliardi La Gala ก็มาพูดเรื่อง Computer Vision with Android (เป็นเรื่องที่ผมชอบที่สุดในวันนี้) คนนี้ได้พัฒนาโปรแกรมบน Android ที่สามารถตรวจจับหน้าตาของหน้าแรกของพาสปอร์ต (หน้าที่มีรูปเราและข้อมูลของเราอยู่) และส่งข้อมูลไปยังเซิฟเวอร์เพื่อประมวลผลได้ ตัวโปรแกรมใช้เทคนิคของ image processing เข้ามาช่วย เช่น edge detection, morphological operations และ connected components algorithm เพื่อช่วยในการยืนยันว่าเป็นรูปหน้าแรกของพาสปอร์ตจริง ผมคิดว่าเค้าน่าจะใช้ android-opencv ในการพัฒนา

แล้วคุณ @nadam9 ก็กลับมาพูดต่อในเรื่อง Box2D ซึ่งเป็น 2D physics engine สำหรับการพัฒนาเกม ลองนึกภาพเวลาเราเกม Angry Birds แล้วเรายิงนกออกไปกระทบกับอิฐ แล้วอิฐก็กระจายเสมือนจริง นั่นแหละใช้ไลบรารี่พวกนี้ทำ ใครนึกภาพไม่ออก ก็ลองดูรูปข้างล่างนี้ไปด้วย

ขอบคุณรูปจาก geek.com

คนต่อไปคือคุณ @lazier มาพูดเรื่อง Goole App Engine โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยได้สนใจเท่าไหร่ เลยจำไม่ค่อยได้ว่าพูดเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง แต่ก็พอจะรู้ได้ว่ากูเกิ้ลรันพวกแอพพลิเคชั่นใน Cloud และเก็บข้อมูลบนนั้น ถ้าถามเรื่องความปลอดภัย.. กูเกิ้ลเองก็ยังรับประกันไม่ได้เลย ณ ตอนนี้

ปิดท้ายงานด้วย HTML5 กับคุณ @krapalm ก็มาอธิบายว่า HTML5 มันจะดีกว่า HTML4 อย่างไร มีอะไรดีขึ้นบ้าง โดยส่วนตัวแล้วผมคาดหวังว่าจะมาดู Demo แจ่มๆ ที่ HTML5 ทำได้ง่ายๆ แต่ HTML4 ทำได้ยากมาก อะไรแบบนี้ ผิดหวังเล็กน้อย รู้สึกวิทยากรจะเบลอๆ ด้วย พูดวกไปวนมา ฟังแล้วเบลอตาม ผมสรุปโดยผมเองคือสุดท้ายก็คอยติดตามกันว่า HTML5 มันจะมาทำให้ชีวิตนักพัฒนาเว็บดีขึ้นแค่ไหน

อย่างไรก็ตามแต่ ก็ขอขอบคุณทีมงานและเหล่าวิทยากรมาด้วย ณ ที่นี้ครับ -/\-

ปล. สามารถเข้าไปดูการนำเสนอของแต่ละคนได้ที่ Bangkok GTUG Presents นะครับ

Author: zkan

Soon to be a newbie data scientist. I ♥ machine learning, computer vision, robotics, image processing, data visualization, and data analytics.

5 thoughts on “เกี่ยวกับงาน Bangkok GTUG BootCamp”

  1. ขอบคุณครับ เหมือนได้ไปเองเลย
    คุ้นๆว่าน่าจะมีเรื่อง android developers ด้วยหรือเปล่า

  2. เรื่อง android developers รวมอยู่ในสไลด์ของ @nuuneoi อะครับ คนนี้พรีเซนต์เนื้อหาค่อนข้างเยอะ ที่ผมเขียนมาเป็นแค่ส่วนหนึ่ง อิอิ

  3. Oops.. I didn't know you can read Thai and find my blog. Thank you very much for the nice talk and slide.

    OK, I see you did it yourself. I always wonder if Android supports this kind of stuff (image processing, computer vision, etc.) and you've already proved it on that day. Impressing! 😀

    I'm also very interested in computer vision (using OpenCV). If possible, I hope to see you again in the next GTUG bootcamp or barcamp.

    Cheers,
    Kan

  4. Sure, I wish to meet you again. I had a look at your very interesting research on human tracking in surveillance systems.
    Surveillance is an area where I am now trying to get fundings in Thailand to invest into. It's still too early, but should I get the money, I would like to contact you in future and see if it is possible to seek a collaboration.

    PS: Android is a good platform for image processing, quite fast. It will be better and better in the near future, when powerful processors are coming for the mobile phones (NVIDIA already released the Tegra 2, which is a dual core processor, 1 GHz per core. Not bad for computational power!)

    Cheers,
    Andrea

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *